วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
1.       นำหนังสือขอความร่วมมือในการทำการวิจัยจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อขออนุญาตและประสานงานในการทำวิจัยในโรงเรียนทดลองเครื่องมือ
2.       การดำเนินการหาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวนโดยการประเมินตามแบบประเมินสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทดลองใช้และตอบแบบประเมิน นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
3.       การดำเนินการทดลองโดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตามแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการวัดก่อนและหลังให้สิ่งทดลอง ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
3.1  ผู้วิจัยชี้แจงวิธีการทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test)
3.2  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
3.3  ผู้วิจัยชี้แจงวิธีการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.4  ให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองเมื่อเสร็จการเรียนในแต่ละหน่วยให้นักเรียนทำแบบทดสอบระหว่างเรียน
3.5  เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนหมดทุกหน่วยการเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
3.6  นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้
1.  การวิเคราะห์หาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
2.  การคำนวณหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum สำหรับ ใช้สูตร E1/E2
3.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ก่อนเรียนกับหลังเรียน ใช้สถิติการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัย
1.  ผลการวิเคราะห์หาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum  แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum
คุณภาพ
S
ระดับคุณภาพ
ด้านเนื้อหาของบทเรียน
4.41
0.25
ดี
ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ
4.63
0.29
ดีมาก
รวม
4.54
0.35
ดีมาก
จากตารางที่ 1 พบว่า บทเรียนมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (  = 4.41) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (  = 4.63) โดยรวมบทเรียนคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก(  = 4.54)
     2.  ผลการหาประสิทธิภาพของของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ista Pro 7.0 แสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum 
ผลการทดลอ 
จำนวนนักเรียน
คะแนน
ค่าเฉลี่ยร้อยละ
คะแนนเต็ม
คะแนนเฉลี่ย
ระหว่างเรียน ( E1 )
30
20
16.20
81.00
 หลังเรียน ( E2 )
30
24.63
82.11
จากตารางที่ 2 พบว่า บทเรียนมีประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลผลิต (E1/E2) เท่ากับ 81.00/82.11
     3.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน กับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum แสดงดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน กับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum
คะแนน
(เต็ม 30)
n
S
t
Sig
ก่อนเรียน
30
14.30
4.79
-13.09
0.000
หลังเรียน
30
24.63
2.17
จากตารางที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น