วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า อภิปรายและเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า อภิปรายและเสนอแนะ
            การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา  สมมุติฐานของการศึกษา  วิธีการดำเนินการศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  การวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลและการอภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะดังนี้
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
             1. วัตถุประสงค์ทั่วไป
                          เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่อง  กราฟิกเบื้องต้น
             2. วัตถุประสงค์เฉพาะ
                          2.1 เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่องกราฟิกเบื้องต้น
                          2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพตาม    เกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
สมมุติฐานของการศึกษา
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
ขอบเขตของการศึกษา
            การศึกษาครั้งนี้  มุ่งพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  และเพื่อให้การศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการวิจัย  ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
             1. ประชากร
                        ประชากรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 100 คน

            2.   กลุ่มตัวอย่าง
                        กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับสลากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเดี่ยว แบบกลุ่มและภาคสนาม ดังนี้
                        2.1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ แบบ          เดี่ยว จำนวน 3 คน
                        2.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            แบบกลุ่ม จำนวน 9 คน
                        2.3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            แบบภาคสนาม จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
            1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
            2. แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            3. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
             การวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรที่ศึกษา 2 ตัวคือ
             4.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ  คือ ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์      เรื่องกราฟิกเบื้องต้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
             4.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ได้เรียนเนื้อหาจาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  


สรุปผลการค้นคว้า
             หนังสืออิเล็กทรอนิกส์    เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.92/96.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
 การอภิปรายผล
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์    เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถอภิปรายได้ดังนี้
            จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์    เรื่องกราฟิกเบื้องต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.92/96.67 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้  สอดคล้องกับวิจัยของ คลีเมนท์ (Clement,1993, quoted in Coutts and Hart,2009 : 19) ที่ได้พัฒนาซีดีรอมมัลติมีเดียวิชาศิลปะขึ้น และได้รับผลสำเร็จมากในการทดลอง  ซึ่งข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับการวิจัยของเกษมศรี พรหมภิบาล (2543 :บทคัดย่อ) ที่ได้ศึกษาผลของการสอนวิชาการออกแบบ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก  พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้  และสอดคล้องกับกาการวิจัยของบาร์กเกอร์และกิลเลอร์  ที่ได้ศึกษาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อการสอนภาษาฝรั่งเศสเปรียบเทียบกับการสอนวิธีอื่นๆซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ  นอกจากนั้น  ศิริยงค์ ฉัตรโท (2539 : บทคัดย่อ) ได้สรุปในงานวิจัยของเขาว่า  การสร้างสื่อนำเสนอแบบอินเตอร์แอคทีฟ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
            หากจะมาวิเคราะห์กันว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่องกราฟิกเบื้องต้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 จะได้ว่า
            ประการที่ 1 มีการใช้ตัวอักษรและพื้นหลังที่เหมาะสม  กล่าวคือ ในส่วนของเนื้อหา ผู้วิจัยได้ใช้ตัวอักษร เจ เอส จินดารา ขนาด 20 พอยน์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับตัวอักษร Anssana UPC สามารถอ่านง่าย  สบายตา
            ประการที่ 2 ผู้วิจัยได้มีการจัดหน้าจอให้อยู่ในแนวทางเดียวกัน  เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเกิดความสับสน  โดยมีหน้าจอ 2 รูปแบบ คือหน้าจอปกติและหน้าจอไฮเปอร์เท็กซ์  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
            ประการที่ 3 ได้มีการออกแบบบทเรียนในลักษณะที่มีการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์ทำให้บทเรียนไม่น่าเบื่อ  ผู้เรียนจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอย่าสม่ำเสมอ  ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน (ถนอมพร เลาหจรัสแสง,2541 : 62)
            ประการที่ 4 ในการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  ผู้วิจัยได้ออกแบบอยู่บนพื้นฐานจิตวิทยาแรงจูงใจ  โดยใช้ไฮเปอร์เท็กซ์และแบบทดสอบเป็นแรงจูงใจในการเรียน  จาดพื้นฐานการอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการอยากรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีสิ่งที่แนะ (cue) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น (ธีรพงษ์ วิริยานนท์,2543 : 46; มาลินี จุฑะรพ,2539 : 138; ไพบูลย์ เทวรักษ์,2537 : 113-115;โสภา ชูพิกุลชัย,2521 : 56-62)
            จากหลักการดังกล่าวข้างต้น  ประกอบกับขั้นตอนการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  อย่างมีระบบ  ตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรเนื้อหาวิชา 263-201 เทคโนโลยีการศึกษา การเขียนแผนการสอน  การจัดทำสตอรีบอร์ด  และการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  ค่าความยากง่าย  และค่าอำนาจจำแนกแล้ว  ทำให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สามารถนำไปประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา  263-201 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ข้อเสนอแนะ
            1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
                         1.1 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีจำนวนหน้ามากๆด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat จะ         มีจำนวนการเชื่อมโยง (Link) มากตามไปด้วย  ทำให้เสียเวลาค่อนข้างมาก  และเกิดการผิดพลาดได้    ง่ายจึงควรสร้างเป็นเทมเพลท ที่เชื่อมโยงกันไว้เรียบร้อยแล้ว  โดยเลือกการสร้างแบบ EXECUTE        MENU ITEM เมื่อใช้งานจริงให้ใช้คำสั่ง DOCUMENT REPLACE PAGES เพื่อแทนที่เทมเพลทที่ สร้างไว้  จะทำให้ประหยัดเวลาลงได้มาก
                         1.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้เปิดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  หากมีโปรแกรม Adobe Acrobat          5 อยู่ควรถอนโปรแกรม (Uninstll) ออกก่อน  แล้ว Restat เครื่องใหม่ก่อนที่จะลงโปรแกรม Adobe      Acrobat 4 gเพื่อความสมบูรณ์ของโปรแกรม
            2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
                         2.1 ควรมีการวิจัยเปรียบเทียบรูปแบบการบันทึกใจความสำคัญในรูปแบบต่างๆได้แก่  การ            ทำเครื่องหมายลงบนใจความสำคัญโดยตรง, การให้ผู้เรียนคัดลอกหรือพิมพ์ใจความสำคัญลงใน           โปรแกรม (NOTEPAD) และการคัดลอกลงกระดาษ  เป็นต้น  ว่าจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน        หรือไม่

                         2.2 ควรมีการเปลี่ยนสื่อที่ใช้ในการวิจัยหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์จากซีดีรอมไปเป็น     อินเตอร์เน็ตบ้าง

บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
1.       นำหนังสือขอความร่วมมือในการทำการวิจัยจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อขออนุญาตและประสานงานในการทำวิจัยในโรงเรียนทดลองเครื่องมือ
2.       การดำเนินการหาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวนโดยการประเมินตามแบบประเมินสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทดลองใช้และตอบแบบประเมิน นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
3.       การดำเนินการทดลองโดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตามแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการวัดก่อนและหลังให้สิ่งทดลอง ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
3.1  ผู้วิจัยชี้แจงวิธีการทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test)
3.2  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
3.3  ผู้วิจัยชี้แจงวิธีการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.4  ให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองเมื่อเสร็จการเรียนในแต่ละหน่วยให้นักเรียนทำแบบทดสอบระหว่างเรียน
3.5  เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนหมดทุกหน่วยการเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
3.6  นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้
1.  การวิเคราะห์หาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
2.  การคำนวณหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum สำหรับ ใช้สูตร E1/E2
3.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ก่อนเรียนกับหลังเรียน ใช้สถิติการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัย
1.  ผลการวิเคราะห์หาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum  แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum
คุณภาพ
S
ระดับคุณภาพ
ด้านเนื้อหาของบทเรียน
4.41
0.25
ดี
ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ
4.63
0.29
ดีมาก
รวม
4.54
0.35
ดีมาก
จากตารางที่ 1 พบว่า บทเรียนมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (  = 4.41) และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (  = 4.63) โดยรวมบทเรียนคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก(  = 4.54)
     2.  ผลการหาประสิทธิภาพของของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ista Pro 7.0 แสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum 
ผลการทดลอ 
จำนวนนักเรียน
คะแนน
ค่าเฉลี่ยร้อยละ
คะแนนเต็ม
คะแนนเฉลี่ย
ระหว่างเรียน ( E1 )
30
20
16.20
81.00
 หลังเรียน ( E2 )
30
24.63
82.11
จากตารางที่ 2 พบว่า บทเรียนมีประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลผลิต (E1/E2) เท่ากับ 81.00/82.11
     3.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน กับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum แสดงดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน กับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum
คะแนน
(เต็ม 30)
n
S
t
Sig
ก่อนเรียน
30
14.30
4.79
-13.09
0.000
หลังเรียน
30
24.63
2.17
จากตารางที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05