วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
            การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Resrarch and Development) ซึ่งผู้ศึกษาได้กำหนดวิธีการดำเนินการศึกษาดังรายละเอียดที่จะเสนอตามลำดับคือ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง  แบบแผนงานศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  การสร้างเครื่องมือในการศึกษา  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล  วิธีดำเนินการทดลอง  และการวิเคราะห์ข้อมูลดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
              1.  ประชากร
                             1.1  ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนโนนดินแดง อำเภอ
            โนนดินแดงแดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 441 คน
                        1.2  กลุ่มตัวอย่าง
              กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดงแดงได้มา          โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับสลากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบ   หาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเดี่ยว แบบกลุ่มและภาคสนาม ดังนี้
                            1.2.1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์                      แบบเดี่ยว จำนวน 3 คน
                                      1.2.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        แบบกลุ่ม จำนวน 9 คน
                                       1.2.3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        แบบภาคสนาม จำนวน 30 คน


แบบแผนการศึกษา
            รูปแบบที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เรียกว่า  ทดสอบก่อนและหลังเรียนกับกลุ่มเดียว (One-Group Pretest-Posttest Desing) (Vokell,1983 : 170 - 171) มีลักษณะดังนี้   O1 X O2
            เมื่อ   O1    หมายถึง  การทดสอบก่อนการทดลอง
                       X   หมายถึง  การเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                      O2  หมายถึง  การทดสอบหลังการทดลอง
            โดยมีตัวแปรในการวิจัย  คือ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่องกราฟิกเบื้องต้น
เครื่องมือที่ใช้การวิจัย
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย  3 รายการ คือ
1.       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro 7.0 ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหาของบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
2.       แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro 7.0 ประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา ได้รับความอนุเคราะห์ตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่านคือ 1) ดร.ทศพร แสงสว่าง อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ดร.สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช อาจารย์ประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3) ดร.เศรษฐชัย ชัยสนิท ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 4) ดร.ราชันย์ บุญธิมา อาจารย์ประจำสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อได้รับความอนุเคราะห์ตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 1 ท่าน
3.       แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro 7.0 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
            1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์การสร้างบทเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                        1.1 ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรเนื้อหาวิชา 263-201 เทคโนโลยีการศึกษาในหัวข้อกราฟิกใน            การสื่อสารการศึกษา  และเอกสารคำสอนวิชา 263-201 เทคโนโลยีการศึกษา (รายละเอียดดูใน        ภาคผนวก ญ)
                        1.2 วิเคราะห์และเรียบเรียงเนื้อหาในขั้นตอนนี้จะวิเคราะห์เนื้อหาและแยกเนื้อหาออกเป็น          หน่วยย่อยๆ
                        1.3 เขียนแผนการสอน  รูปแบบแผนการสอนที่ใช้ยึดแนวของวิชัย วงษ์ใหญ่ (2525 : 175-           178)ซึ่งประกอบด้วยหัวเรื่องและกำหนดเวลาเรียน,เนื้อหาสาระ,คิดรวบยอด, จุดประสงค์                      ของการเรียน, สื่อการเรียน, กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล 
                        1.4 แปลงแผนการสอนให้อยู่ในรูปของสตอรีบอร์ด
                        1.5 คัดเลือกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        1.6 เตรียมทรัพยากรที่จะใช้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        1.7 ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        1.8 ขั้นตอนสอบสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ
                        1.9 ขั้นทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        1.10 จัดทำสำเนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        1.11 เผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            2. การสร้างแบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่อง กราฟิกเบื้องต้นผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนต่อไปนี้
                        2.1 ศึกษาเอกสารการประเมินสื่อการสอน
                        2.2 เลือกแบบประเมินคุณภาพมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาของกรมวิชาการ (กรมวิชาการ,2542)                    2.3 ปรับปรุงแบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของ     หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                        2.4 กำหนดระดับการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้ 5 ระดับ  คือ
                                     ดีมาก      =   5
                                      ดี     =   4
                                    ปานกลาง    =   3
                                     พอใช้     =   2
                                      ควรปรับปรุง  =   1
            ซึ่งเกณฑ์การยอมรับคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  จะพิจารณาตามคำถามแต่ละข้อข้อที่ผ่านเกณฑ์จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยดีถึงดีมาก  และคะแนนเฉลี่ยรวมต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ดี จึงจะสามารถนำไปทดลองได้  โดยกำหนดระดับการประเมิน 5 ระดับดังนี้
             คะแนน 1.00 – 1.49  หมายถึง  คุณภาพควรปรับปรุงอย่างยิ่ง
             คะแนน 1.50 – 2.49  หมายถึง  คุณภาพควรปรับปรุง
             คะแนน 2.50 – 3.49  หมายถึง  คุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
             คะแนน 3.50 – 4.49  หมายถึง  คุณภาพอยู่ในระดับดี
             คะแนน 4.50 – 5.00  หมายถึง  คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

            3. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                        3.1 ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรและเรียบเรียงเนื้อหา  โดยสร้างตารางการวิเคราะห์เนื้อหา
            (ภัทรา นิคมานนท์,2538 : 108-110)
                        3.2 ศึกษาวิธีสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  เทคนิคการเขียนข้อสอบ  และเทคนิคการ    วัดผลทางการศึกษา
                        3.3 เขียนข้อสอบชนิดปรนัย 5 ตัวเลือก  โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
                        3.4 ตรวจทานข้อสอบ นำข้อสอบที่ได้เขียนไว้แล้วมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งโดยพิจารณา            ความถูกต้องตามหลักวิชา  แต่ละข้อวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการหรือไม่ภาษาที่ใช้มีความ   ชัดเจน  เข้าใจง่ายหรือไม่ ตัวถูกตัวลวงเหมาะสมเข้าเกณฑ์หรือไม่  จากนั้นปรับปรุงข้อสอบให้มี       ความเหมาะสมยิ่งขึ้น
                        3.5 ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา  นำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและ              ข้อสอบที่สักแต่ละจุดประสงค์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ  และด้านเนื้อหาจำนวน 3 คน  พิจารณาว่าแต่ละข้อ        วัดตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้นั้นหรือไม่
การเก็บรวบรวมข้อมูล
            ผู้วิจัยดำเนินการทดลองตามขั้นตอนต่อไปนี้
            1.ขั้นตอนการก่อนการทดลอง
                        1.1 ขั้นเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  ซึ่งประกอบด้วย  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์    เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และตารางเวลานัดหมายผู้เรียน
                        1.2 กำหนดระยะเวลาในการทดลอง 
                        1.3 ติดต่อขออนุญาตใช้ห้องคอมพิวเตอร์
                        1.4 ติดต่อขออนุญาตอาจารย์รายวิชานำกลุ่มตัวอย่างมาทดลองตามวันที่ได้กำหนด
                        1.5 ทดสอบความพร้อมของห้องคอมพิวเตอร์ก่อนทดลองจริง
            2. ขั้นดำเนินการทดลอง
             ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามขั้นตอนต่อไปนี้
                        2.1 ให้กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการทดลองมาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์โดยใช้เวลา         ประมาณ 20 นาที
                        2.2 ผู้วิจัยอธิบายกลุ่มตัวอย่างให้ทราบถึงจุกประสงค์ของการทดลอง
                        2.3 ให้กลุ่มตัวอย่างทดลองฝึกการทำเครื่องหมายบนใจความสำคัญ  ใช้เวลาประมาณ  10 นาที
                        2.4 จากนั้นกลุ่มตัวอย่างศึกษาเนื้อหาจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์      เรื่องกราฟิกเบื้องต้น  เป็นรายบุคคล  ผู้วิจัยจะคอยสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนตลอดการเรียน  ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลา     ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
                        2.5 เมื่อหมดเวลา  ผู้วิจัยสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
                        2.6 ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที
                        2.7 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน             แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง  มีเกณฑ์การให้คะแนน 1 คะแนนสำหรับคำตอบ     ที่ถูกต้อง และให้ 0 คะแนนสำหรับคำตอบที่ผิดหรือไม่ตอบ และนำคะแนนที่ได้มาหาค่า E1/ E2
การวิเคราะห์ข้อมูล
             การวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
            1. การหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากสูตร   E1/ E2 โดยนำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบระหว่างเรียน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
            2. ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรม
            3. หาค่าระดับความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
            สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้
            1. สถิติที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  จากสูตร  E1/ E2 ซึ่งดัดแปลงจาก ไชยยศ  เรืองสุวรรณ (2533 : 139) ซึ่งใช้สูตรดังนี้คือ
                        เมื่อ   E1  คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

                         เมื่อ   E2  คือ ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น