วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”

บทที่ 1
โครงการ การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา
ผู้รับผิดชอบโครงการ  นางสาวพิชชาภา  เลี่ยมนพรัตน์  รหัสนิสิต  55540177  คณะศึกษาศาสตร์  สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ที่ปรึกษาโครงการ 
อาจารย์ ดร. ภูเบศ เลื่อมใส
หลักการและเหตุผล
            การจัดการศึกษาในอนาคตที่จะถึงนี้จำเป็นต้องยึดแนวทางตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตคงปฏิเสธไม่ได้ถึงความจำเป็นต่อการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดำเนินการจัดการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ตระหนักถึงความจำเป็นในประเด็นนี้จึงได้นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาบรรจุลงไปในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างเน้นหนัก และชัดเจน รัฐบาลต้องส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการสื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม (พรบ.การศึกษา มาตรา 64 ) แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นฝึกฝนทักษะสำคัญ คือ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็นใฝ่เรียนใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ(อัญชลี สวัสล้ำ 2556 : 1) จึงเป็นภาระงานที่สำคัญ และมีคุณค่าต่อความเป็นบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่จะต้องออกแบบ สื่อหรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ มีความสุขจากการเรียน ย่อมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เข้าใจในสิ่งที่ครูต้องการถ่ายทอด หรือสามารถสอนเด็กให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้โดยเร็ว จากผลการประเมินของสมศ.สรุปได้ว่ามีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4,322 แห่งจากจำนวนสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประเมินจำนวน 2,0374 แห่งคิดเป็นร้อยละ 22.21 และในจำนวนสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองนี้พบว่ามาตรฐานผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์การคิดวิเคราะห์การใฝ่เรียน (มาตรฐานที่ 4, 5, และ6) มีคุณภาพระดับดีขึ้นไปไม่ถึงร้อยละ 50 ของจำนวนสถานศึกษาทั้งหมด (สานักทดสอบทางการศึกษา. 2553 : 1) ทำให้มีผู้สนใจพัฒนาผู้เรียนด้านการคิดกันอย่างแพร่หลาย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book เป็นสื่อเทคโนโลยีอีกประเภทหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทางครูหรือ บุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดตามที่มาตรฐานการศึกษากำหนด  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูล ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปส่วนต่าง ๆของหนังสือของหนังสือเว็บไซด์ต่าง ๆตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนี้หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ยังสามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ ที่สำคัญก็คือหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป หนังสืออีเล็กทรอนิกส์( e-book) ต่างจากหนังสือทั่วไป ดังนี้
            1.  หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
            2.  หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างภาพให้เคลื่อนไหวได้
            3.  หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
            4.  หนังสือทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถแก้ไขปรับปรุงข้อมูล (update)ได้ง่าย
            5.  หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง(link) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
            6.  หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ประหยัด
            7.  หนังสือมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่าย ไม่จำกัด
            8.  หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรมผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
            9.  หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ่านได้และยังสั่งพิมพ์ (print)ได้
            10.  หนังสือทั่วไปอ่านได้ 1 คนต่อ หนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านได้พร้อมกันได้จำนวนมาก หนังสือทั่วไปพกพาลำบากหากมีจำนวนหลายเรื่อง หลายเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ ใน Handy Drive หรือ CD
            การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book)ให้มีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ได้ดี ผู้สร้างต้องใช้ทักษะต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์  ทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการออกแบบ ดังนั้นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงต้องใช้ทั้ง ความรู้ ทักษะ เทคนิคกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพ และเกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
            1.  เพื่อศึกษาการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
            2.  เพื่อศึกษาการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            3.  เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
สมมติฐานของการศึกษา
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
ขอบเขตของการศึกษา
            การศึกษาครั้งนี้ มุ่งพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อให้การศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
            1. ประชากร
                        ประชากรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 100 คน
            2.   กลุ่มตัวอย่าง
                        กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับสลากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเดี่ยว แบบกลุ่มและภาคสนาม ดังนี้
                        2.1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ แบบ          เดี่ยว จำนวน 3 คน
                        2.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            แบบกลุ่ม จำนวน 9 คน
                        2.3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            แบบภาคสนาม จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
            1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
            2. แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            3. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
             การศึกษาครั้งนี้มีตัวแปรที่ศึกษา 2 ตัวคือ
                        1.  ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ศึกษา    สร้างขึ้น
                        2.  ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ได้เรียนเนื้อหาจาหนังสือ          อิเล็กทรอนิกส์   
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
            ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  โดยแบ่งเป็น
หัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้
            1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            2. การผลิตและการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นิยามศัพย์เฉพาะ
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
             1. ความหมายและธรรมชาติของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
              1.1  ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 
             หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ  แต่กระนั้นก็ได้มีผู้ให้คำนิยามเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้หลายท่านด้วยกัน  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะด้วยกัน  คือ  ในลักษณะของซอฟท์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และในลักษณะที่เป็นทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์
                        1.1.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของซอฟท์แวร์
                         หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง หนังสือเล่มที่ถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ผู้อ่าน           สามารถอ่านข้อมูลได้จากจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะข่าวสารเป็นแบบพลวัต หากต้องการปรับปรุง       ข้อมูลก็สามารถทำได้โดยดึงข้อมูล (Download) มาจากอินเตอร์เน็ต หรือซีดีรอม หนังสือ           อิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถในการทาไฮเปอร์เท็กซ์, ค้นหาข้อความ , ทำหมายเหตุประกอบ และ          การทำสัญลักษณ์ใจความสำคัญ (พิชญ์ วิมุกตะลพ, 2538 : 214; Barker , 1992 : 139 ; Gates,1995 :      139 ; “Whatare E- Books?”,1999 : 1; “NetLingo :The Internet Language Dictionary”, 1999 : 1             “High-Tech Dictionary Definition”, 1999 : 1 “Electronic Book”, 1999 : 1; Reynolds and       Derose.2535 : 263, อ้างถึงใน สุชาดา โชคเหมาะ,2539 : 1-2)
                          1.1.2 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของฮาร์ดแวร์
                        “TechEncyclopedia” (1999 : 1) กล่าวว่า  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋า          ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทำสำเนาได้ ทำบุ๊คมาร์คและทำ  หมายเหตุประกอบได้  “Electronic Book – Webopedia Definition” (1999 : 1) ได้กล่าวถึงหนังสือ       อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ร็อคเก็ตอีบุ๊ค (Rocket Ebook)  ของนูโวมีเดีย  เป็นหนังสือ           อิเล็กทรอนิกส์ฉบับกระเป๋า  พกพาสะดวกด้วยน้ำหนักเพียง 22  ออนซ์  เก็บข้อมูลได้ถึง 4000             หน้ากระดาษ  การเปิดพลิกหน้าร็อกเก็ตอีบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิดหนังสือจริงสามารถ ทำแถบสว่าง (Highlight),ทำหมายเหตุประกอบ,ค้นหาคำ  และสร้างบุ๊คมาร์คได้ หากต้องการ ปรับปรุงข้อมูลก็สามารถติดต่อไปยังร้านหนังสือหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  สำหรับรูปแบบที่ 2 คือ      ซอฟท์บุ๊ค (Softbook) ของซอฟท์บุ๊คเพรส มีลักษณะคล้ายกับร็อคเก็ตบุ๊ค  มีความจุตั้งแต่ 1,500  ไป     จนถึง 1 ล้านหน้ากระดาษ
                        1.1.3 ความหมายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์  ได้มีผู้ให้       ความหมายดังนี้“What  is an E-Book”(1999 : 1) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า       หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือทั้งที่มีและไม่มีตัวจริง  โดยมีรูปแบบการอ่าน 3 แนว  คือดึง ข้อมูลออกมาและพิมพ์โดยผู้ใช้งาน, อ่านโดยตรงจากจอคอมพิวเตอร์ และใช้อ่านโดยเครื่องมือ           อิเล็กทรอนิกส์อื่น  ได้แก่ ไลเบรีย์สมิลลิเนียมอีบุ๊ครีดเดอร์ (Librius Millennium Ebook Reader), ร็อคเก็ตบุ๊ค  เป็นต้น
                        จากความหมายที่กล่าวมาทั้ง 3  ลักษณะ  สามารถสรุปได้ว่า  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์         หมายถึง การนำหนังสือหนึ่งเล่มหรือหลายๆเล่ม มาออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์          โดยปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของตัวอักษร,ภาพนิ่ง,ภาพเคลื่อนไหว,        เสียง,ลักษณะที่โต้ตอบกันได้ (interactive) และการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์  สามารถทำบุ๊ค         มาร์กและหมายเหตุประกอบตามที่ผู้ใช้ต้องการได้  โดยอาศัยพื้นฐานของหนังสือเล่มเป็นหลัก
                         หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะแจกต่างจากหนังสือเล่มในการพลิกหน้า โดยที่ไม่ได้มีการพลิก หน้าจริง  หากแต่เป็นไปในลักษณะของการซ้อนทับกัน  (Barker and singh, 1985 , quoted in barker    and Manji,1991 : 276)สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  กับหนังสือเล่มอย่างเด่นชัด   นั้นก็คือ การปฏิสัมพันธ์ และความเป็นพลวัต (Barker,1996 : 14) ๙งอาจแตกต่างกันบ้างในหนังสือ            อิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน  และการปฏิสัมพันธ์จากผู้อ่าน              หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหน้าปกเพื่อบอกข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับหนังสือ  หากใน 1 หน้ามีข้อมูลเป็น  หน้าคู่  ด้านซ้ายมือเป็นหน้าซ้าย ด้านขวามือเป็นหน้าขวา กดปุ่มไปหน้าก็จะไปยังหน้าต่อไป กดปุ่ม      ถอยหลังจะกลับไปหน้าก่อนนอกจากนี้ยังสามารถกระโดดข้ามไปยังหน้าที่ผู้อ่านต้องการได้อีกด้วย       หน้าสุดท้ายจะเป็นหน้าก่อนออกจากโปรแกรม ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายกับหนังสือ  มาก แต่ข้อจำกัดที่มีอยู่มากมายในหนังสือเล่มไม่สามารถส่งอิทธิพลมายังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ อย่างใด
             2. ข้อดีและข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 
               2.1 ข้อดีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  มีข้อดีดังต่อไปนี้
                        2.1.1. เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆมารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว  คือสามารถแสดง           ภาพ  แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว  และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
                        2.1.2 ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น (สิทธิพร  บุญญานุ          วัตร,2540 : 24)
                        2.1.3  ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน,การเขียน,การฟัง         และการพูดได้ (Roffey, 1995)
                        2.1.4 มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่าย  และเชื่อมโยไปสู่โฮมเพจและเวปไซต์          ต่างๆอีกทั้งยังสามารถอ้างอิงในเชิงวิชาการได้
                        2.1.5  หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต จะทำ         ให้กระจายสื่อได้อย่างรวดเร็ว  และกว้างขวางกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ออนไลน์        นวัตกรรมแห่งสื่ออนาคต”, 2541 : 60)
                        2.1.6  สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจริง  ห้องสมุดเสมือนและ        ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ 
                        2.17  มีลักษณะไม่ตายตัว  สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  อีกทั้งยัง     สามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์
                        2.1.8 ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่  การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความ         คล่องตัวยิ่งขึ้น  เนื่องจากสื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ ไม่ต้องหอบหิ้วสื่อซึ่งมีจำนวนมาก                      2.1.9 การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าการใช้กระดาษ  สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ     ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ  อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
                        2.1.10 มีความทนทาน  และสะดวกแก่การเก็บบำรุงรักษา  ลดปัญหาการเก็บเอกสาร       ย้อนหลังซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างในการจัดเก็บ  สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับ       เขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
                        2.1.11  ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว
            2.2 ข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีข้อดีที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอนมากมายแต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้วยดังต่อไปนี้
                        2.2.1  คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า (หนังสือพิมพ์     ออนไลน์นวัตกรรมสื่อแห่งอนาคต”, 2541 : 60) อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถใช้งาน      ได้ง่ายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์  และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
                        2.2.2  หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ  จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า             2.2.3  การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี  ผู้สร้างต้องมีความรู้และ            ความชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อดีพอสมควร
                        2.2.4  ผู้ใช้สื่ออาจไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้          ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                        2.2.5 ใช้เวลาในการออกแบบมาก  เพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดี  เพื่อให้           ได้สื่อที่มีคุณภาพ
            3. การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอน
            ในอดีตสื่อการศึกษาที่เริ่มต้นใช้ในการเรียนการสอน  คือสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งใช้กันมานานหลายร้อยปี  และยังคงใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูง (เอี่ยม  ฉายางาม, 2534 : 14) ถึงแม้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ไม่มีวันหายไปจากวงการเรียนการสอนได้เลย  แม้เวลาจะผ่านไปอีกร้อยปีหรือพันปีข้างหน้า แต่อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นไฮเปอร์เทกซ์แทน (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2534 : 5) เทคโนโลยีไฮเปอร์เทกซ์เป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกแก่การคิดของมนุษย์  และสอดคล้องกับธรรมชาติส่วนใหญ่ของมนุษย์ที่ไม่ชอบคิดอะไรต่อเนื่องกันยาวๆ อยู่เพียงเรื่องเดียว (ครรชิต  มาลัยวงศ์, 2534 : 16) ไฮเปอร์เทกซ์จะแสดงข้อความในรูปแบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกระโดดจากเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกเนื้อหาหนึ่งง่ายดาย  หรือเจาะลึกไปยังเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้มากเท่าที่ต้องการ  เทคโนโลยีไฮเปอร์เทกซ์ไม่ได้เข้ามาแทนที่ในหนังสือหรือสิ่งพิมพ์  หากแต่จะช่วยฟื้นฟูบทบาทของหนังสือให้มีความสำคัญดังเดิม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540 : 223)
            หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อที่ใช้ความสามารถของไฮเปอร์เทกซ์สนับสนุนการเรียนรู้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนทางไกล, การเรียนที่ยืดหยุ่น,สนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล และการเรียนแบบร่วมมือในการเรียนการสอนทางไกล (Barker,1996 : 16) โดยสามารถใช้เป็นเครื่องช่วยสอน” (Instrutional) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเครื่องมือในการสอน และอุปกรณ์ที่ให้ความรู้ที่หนังสือธรรมดาไม่สามารถจะให้ได้ด้วยลักษณะการปฏิสัมพันธ์,น้ำหนักเบาพกพาได้สะดวก,ใช้งานง่ายตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นพลวัต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บางประเภทสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลของผู้อ่าน  มีการดัดแปลงรูปร่างภายนอกของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการนำเสนอเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกชอบและอยากเรียนรู้ (Collis,1991 : 356) ได้แก่  การออกแบบเป็นเครื่องแบบกระเปาหิ้วที่มีน้ำหนักเบา  พกพาสะดวด  หน้าจออ่านง่ายสบายตา  และได้รับการออกแบบอย่างสวยงามหุ้มด้วยหนังหรือวัสดุอย่างดี  หน้าจออ่านง่ายสบายตา  มรการพลิกหน้าใกล้เคียงกับการอ่านหนังสือเล่ม  มีการคาดการณ์กันว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะประสบผลสำเร็จในการเรียนการสอน  ภายหลังจากศตวรรษที่ 20 อย่างแน่นอน (Diana and Hieden, 1994 : 113) ตัวอย่างการนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการสอนมีดังนี้
            ปี 1990  บีเนสท์ (Benest, 1990,quoted in Barker, 1996 : 16) ได้มีการจินตนาการภาพไว้ว่าจะมีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของ  การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer – Assisted Learning) สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย  เขาใช้ซอฟท์แวร์เลียนแบบหนังสือในการค้นหาการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของ เลกเชอร์ออนไลน์”  เขากล่าวว่า  จะทำให้เสียเวลาในการเรียนแบบบรรยายลดลง  และใช้เวลาที่เหลือในการทำกิจกรรมอื่น  เช่น  กิจกรรมแก้ปัญหา, การฝึกปฏิบัติ,การอภิปรายกลุ่มและการช่วยกันทำงาน  เป็นต้น  การเริ่มต้นออกแบบและผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอนนั้นบาร์คเกอร์ และกิลเลอร์ (Barker (1991,1993)and Giller (1992), quoted in Barker, 1996 : 16) ได้ทดลองหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับเด็กวัยรุ่นเป็นชุดปฏิสัมพันธ์แบบไฮเปอร์มีเดียโดยใช้เรื่องราวของการสำรวจ  และเกมที่สอนเกี่ยวกับอักขระภาษาอังกฤษบนซีดีรอม ต่อมาก็ได้ศึกษาเรื่องมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อการสอนเรื่องภาษาฝรั่งเศสซึ่งพิมพ์ลงบนซีดีรอม  ตลอดจนการทดลองการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการสอนเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ  (Barker,1994,quoted in Barker,1996 : 16) ได้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการนำเสนอภาพยนตร์  ซึ่งได้รับผลสำเร็จด้วยดีในการศึกษาผู้ใหญ่  จากการวิเคราะห์การศึกษาข้างต้นในแนวลึกนั้นพบว่าได้รับผลที่น่าพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เก็บและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อการสอน
            การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอน  นอกจากผู้เรียนจะได้รับความรู้จากตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เองแล้ว  ยังสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วยเพื่อกระต้นให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้  ซึ่งเหมาะกับผู้เรียนทุกระดับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งมีเครื่องมือครบครัน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
            1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
            ตั้งแต่ปี 1990  บาร์คเกอร์และกิลเลอร์ (Barker and Giller,1992,quoted in Barker, 1992 : 144-147) ได้มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของการผลิตและการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นประโยชน์  เพื่อทดลองและกำหนดแนวทางในการออกแบบและผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทั้งสองได้ค้นพบรูปแบบระดับสูงในการออกแบบโมเดล  และคำแนะนำในการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  นอกจากนี้พวกเขายังได้มีการศึกษาเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นกรณีพิเศษ 7 ตัวอย่าง โดย 4 ตัวอย่างแรกจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการค้าและ 3 ตัวอย่างหลังเพื่อการวิจัยและพัฒนาในห้องทดลองดังต่อไปนี้
                        1.1 เอ็นไซโคลพีเดียโกรเลียร์ (The Grolier Encyclopedia)เอ็นไซโคลพีเดียโกรเลียร์บน ซีดีรอมเป็นตัวอย่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเครื่องอำนวยความสะดวดในการแก้ไขข้อมูล            ข่าวสาร  และโน๊ตแพดไว้ได้บรรจุข้อมูลฉบับเอกสารของเอ็นไซโคลพีเดียโกรเลียร์การศึกษาของ   อเมริกา  ไว้รวม  21  เล่มบนซีดีรอม 1 แผ่น  สิ่งพิเศษที่มีในเอ็นไซโคลพีเดียโกรเลียร์  คือดัชนีหัว        เรื่องตามลำดับอักษร, ดัชนีตามคำในเอ็นไซโคลพีเดีย (เรียงตามคำ เช่น ‘an’, ‘and’‘the’ เป็นต้น),             คำเต็มมากกว่า 30,000 คำ  บทความ (รวมมากกว่า 9 ล้านคำ)
                           ในการค้นหาคำจะใช้พื้นฐาน 3 ประการ  คือ ค้นหาตามดัชนีคำ (ประมาณ 136,750 คำ),  ค้นหาตามดัชนีหัวเรื่อง (30,000 หัวเรื่อง)และค้นหาแบบบูลีน (Boolean Search) โดยการใช้ดัชนีคำ      ซึ่งทำให้การค้นหาคำเป็นไปได้ง่ายขึ้น
                        1.2 เอ็นไซโคลพีเดียคอมตัน (Comton ’s Multimedia Encyclopedia) เอ็นไซโคลพีเดียโกร          เลียร์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นการพิมพ์ที่มีเฉพาะตัวอักษร  แต่เอ็นไซโคลพีเดียคอมตันเป็นการ พิมพ์แบบมัลติมีเดียที่รวมเอตัวอักษร,เสียง และภาพเข้าไว้ด้วยกัน สามารถบรรจุตัวอักษรไว้ได้ 26   เล่ม ของเอกสารกระดาษ เอ็นไซโคลพีเดียคอมตันสามารถเก็บภาพได้มากกว่า 15000 ภาพ     (ภาพถ่าย, ภาพประกอบ, แผนที่, กราฟ, และแผนภูมิ)ภาพเคลื่อนไหว 45  ภาพ, พจนานุกรมและ            เสียง 60 นาที (ทั้งเพลง, คำพูดและภาพเคลื่อนไหว
                        1.3 ห้องสมุดคอมพิวเตอร์ (Computer library)เทคโนโลยีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน         สนับสนุนการเผยแพร่ข่าวสารตลอดจนการแก้ไขห้องสมุดคอมพิวเตอร์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการ        เผยแพร่และให้บริการแก้ไข โดยบริษัทโลตัส และบริษัทซิป ซีดีรอมที่เกิดจากห้องสมุด        คอมพิวเตอร์จะจัดการกับข้อมูลอย่างรวดเร็ว  โดยมี   ขอบเขตที่กว้างของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์           กับคอมพิวเตอร์และหัวข้อ เช่น ผลิตภัณฑ์พิเศษ, งานวิจารณ์, คำแนะนำด้านเทคนิค,ประวัติการ       ผลิต      สั้นๆ และอุตสาหกรรมใหม่ พวกเขาจะบรรจุอุปกรณ์ซึ่งได้กลั่นกรองมาจากเทคโนโลยี   คอมพิวเตอร์มากกว่า 140 เครื่อง  และธุรกิจการพิมพ์  การใช้ระบบนี้สามารถเป็นไปได้ในข้อมูล        และประวัติการผลิตสั้นๆมากกว่า 11,000 รายการ
                        1.4 หนังสือฝึกหัดการพูด (Discis Talking Books)การวิจัยความรู้ที่เกี่ยวกับการฝึกหัดได้  เกิดขึ้นในประเทศแคนาดา  ในขอบเขตของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสมบนซีดีรอม  ตัวอย่าง การพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ซินเดอเรลลา  นิทานกระต่ายของเบนจามิน  และนิทานเจ้ากระต่ายปีเตอร์             หนังสือชนิดนี้เป็นตัวอย่างของหนังือภาพนิทานพูดได้สำหรับเด็ก 3-9 ขวบ
                        หนังสือแต่ละเล่มจะปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนกับการเปิดอ่านหนังสือปกติ  หน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  โดยส่วนขวามือจะเป็นตัวแสดงผล  แต่ละหน้าจะบรรจุภาพ     คุณภาพสูง,ตัวอักษรและไอคอนควบคุม
                        ส่วนประกอบที่สำคัญแต่ละหน้าจะมีไอคอนพูดได้  ซึ่งถือว่าเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พูด          ได้ เมื่อกดปุ่มมันจะอ่านดังๆ  เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น  พร้อมกับเปิดหน้าเองโดยอัตโนมัติ        (หรืออาจไม่เปิด) เมื่อปิดสวิชต์มันจะหยุดพูด  และให้ใช้ออกเสียงตามคำ,วลีหรือประโยคนั้น   ระหว่างการเล่าเรื่องจะมีเสียงประกอบ  และดนตรีคลอไปด้วยการนำเสนอซึ่งเพิ่มความสมจริงสม         จังเข้าไปด้วย
                        1.5  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้
               ผลงานส่วนใหญ่ของการวิจัยบาร์คเกอร์และกิลเลอร์มักสร้างสำหรับเด็กเล็กบนซีดีรอม    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประภทนี้มีเจตนาที่จะผลิตเพื่อใช้เป็นหนังสือนิทานสื่อประสม            อิเล็กทรอนิกส์  ใช้สอนเด็กเล็กเกี่ยวกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ  ซึ่งได้รวบรวมเกมและแบบทดสอบ        ย่อยเอาไว้  หนังสือนี้จะช่วยในการพัฒนาด้านการอ่านของเด็กโดยจะบรรจุนิทานที่มีการเชื่อมโยง           แบบไฮเปอร์เท็กซ์เอาไว้
                        1.6 การออกแบบหน้าจอสำหรับการอบรมพื้นฐานคอมพิวเตอร์
                สิ่งสำคัญในบริบทของการเก็บเอกสารสำคัญของข่าวสาร  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะใช้    ประโยชน์ในการเป็นทรัพยากรการสอนเช่นเดียวกับหนังสือทั่วไปๆไป เราสามารถใช้หนังสือ           อิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการเรียนรู้ที่หลากหลายและประยุกต์ใช้ในงานการอบรม  จาก   ความสามารถในการโต้ตอบและดัดแปลงใช้งานง่าย  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสามารถใน        การสอนมากกว่าหนังสือเล่ม  เพราะสามารถเป็นผู้ช่วยเหลือนักเรียนในการปฏิสัมพันธ์และ        ประเมินผลตามหลักสูตรที่ได้ตั้งไว้  นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถเป็นซอฟท์แวร์          การอบรมพื้นฐานคอมพิวเตอร์
                ในการค้นหาความสามารถในการสอนของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  บาร์คเกอร์และกิลเลอร์           ก็ได้ผลิตพื้นฐานการพิมพ์ออกมาใช้ชื่อว่า  การออกแบบหน้าจอสำหรับการอบรมพื้นฐาน    คอมพิวเตอร์ (Screen Desing for Computer-Based Training) (Barker, et al, 1990, quoted in   Barker, 1992 : 146) ซึ่งได้สอนผู้ใช้เกี่ยวกับการออกแบบหน้าจอที่ดีสำหรับการอบรมพื้นฐาน คอมพิวเตอร์  ประกอบด้วยการออกแบบหน้าจอ, การใช้สี, พื้นที่ฟังก์ชัน, การใช้ตัวอักษร, การใช้ ภาพ, การออกแบบไอคอน, การใช้วินโดวส์และการใช้เมนู, เทคนิคการปฏิสัมพันธ์, กรณีศึกษาและ           แบบฝึกหัดการออกแบบ  รวมทั้งแบบทดสอบย่อยและประเมินผลความเข้าใจของผู้อ่าน
                        1.7 การพิมพ์วิทยานิพนธ์บนซีดีรอม
                จากข้อดีของซีดีรอมกล่าวคือ  มีความแข็งแรงทนทาน,ความน่าเชื่อถือ,มีความสามารถใน การเก็บข้อมูลสูง,มีเครื่องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้,สามารถเก็บตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง     ภาพเคลื่อนไหว  และการเผยแพร่ที่สะดวกและรวดเร็ว  ได้ถูกนำมาใช้งานวิทยานิพนธ์แทนที่     วิทยานิพนธ์ที่มีพื้นฐานบนกระดาษซึ่งมีข้อจำกัดมากมาย (Barker, et al,) 1992, quoted in Barker, 1992: 147) วิทยานิพนธ์เล่มแรกได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นบนซีดีรอมได้มีการแปลงตัวหนังสือ,แผนภาพ          และตารางในหนังสือให้ไปอยู่บนซีดีรอม (Giller,1992,quoted in Barker,1992 : 147) พื้นฐาน        เหล่านี้ได้ถูกนำไปขยายขอบเขตการสาธิตซอฟท์แวร์ซึ่งผลิตระหว่างการวิจัย  ในการแก้ไขข่าวสาร         จากซีดีรอมโดยชุดการแก้ไขข้อมูลแบบเต็มซึ่งเรียกว่า รอมแวร์ (Romware)ด้มีการประเมิน         วิทยานิพนธ์ที่มีพื้นฐานบนกระดาษกับพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ปรากฏว่า พบสิ่งที่น่าสนใจ 3 อย่าง     ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คือ 1. ความง่ายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าสาร 2. งายต่อการใช้งาน 3.เพิ่ม            คุณค่าให้กับวิทยานิพนธ์จากซอฟต์แวร์การสาธิตและความเป็นพลวัตซึ่งเป็นที่ต้องการของ   ผู้อ่านวิทยานิพนธ์  สิ่งสำคัญของคำถามที่ได้ค้นพบในการพิมพ์วิทยานิพนธ์ลงซีดีรอม คือ การ  เผยแพร่การวิจัยที่ค้นพบได้เป็นจำนวนมาก
            2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกราฟิกเบื้องต้น
            จงกล เฮงสุวรรณ (2540 : บทคัดย่อ) ได้วิเคราะห์แนวโน้มหลักสูตรศิลปศึกษา  ระดับปริญญาตรีของสถาบันราชภัฎในทศวรรษหน้า  พบว่า  ในด้านเนื้อหาวิชามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น  ได้แก่  วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก  คอมพิวเตอร์ศิลป์  คอมพิวเตอร์กราฟิก 2-3 มิติ เป็นต้น  อีกทั้งสื่อที่จะนำมาประกอบการเรียนการสอนนั้นจะเป็นสื่อที่ทันสมัย  รวมทั้งมีการนำเอาอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน

            ธำรงศักดิ์  ธำรงเลิศฤทธิ์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและนักการศึกษาด้านศิลปศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของหลักสูตรศิลปศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2541-2550) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย  พบว่า  วิดีโอและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีบทบาทมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น